นักผจญโค้ด (CODE HUNTER)

ตรวจสอบคุณภาพการเขียนโคดด้วย lint


          ในบทความนี้เรามาทดลองใช้ เครื่องมือที่ชื่อว่า lint ในการทดสอบโคดที่เราได้เขียนไปแล้วว่ามีประสิทธิ์ภาพแค่ไหน ซึ่งความสามารถของ lint มีความสามารถค่อนข้างหลากหลายกันเลยทีเดียว

          เริ่มด้วยการไปที่ gradle ของโมดูล app จากนั้นเพิ่มคำสั่งด้านล่างนี้ไว้ภายในส่วนของ android
          จากนั้นเปิดเมนู Gradle ซึ่งเจ้าเครื่องมือที่ว่าจะอยุ่ในโมดูล app -> verification -> lint (สามารถดูรูปด้านล่างได้)


ถ้ายังหาไม่เจอสามารถดูภาพนี้ประกอบได้

ให้เราคลิกขวาที่ lint แล้วเลือกเมนู Run '....project name.... [lint] หรือกดดับเบิลคลิกที่ lint หรือจะกดเมนูลัดโดยการกดที่ Ctrl+Shift+F10 ก็ได้

เมื่อเราสั่งรันแล้ว ให้รอจนกว่าโปรแกรมจะคอมไพลเสร็จ ซึ่งอาจจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับขนาดของโปรเจคและเสปกเครื่องของผู้ใช้งานเอง


เมื่อโปรแกรมทำการคอมไพล์เสร็จแล้ว ให้เลือกรูปแบบมุมมองมาเป็น project  จากนั้นไปที่
app -> build -> outputs จะพบกับไฟล์นามสกุล .html ที่ชื่อว่า lint-resources-debug.html



เข้าไปที่พาทที่อยู่ของไฟล์ หรือจะใช้วิธีลัดโดยการคลิกขวาที่ชื่อไฟล์ แล้วเลือก Show In Explorer


จะพบกับข้อมูลการรายงานที่ lint ตรวจสอบให้เรา จะเเบ่งออกเป็นหมวดๆ ไป เช่น เรื่องที่เกี่ยวกับ Security, Performance ฯลฯ


Share:

การติดตั้งการใช้งาน Genymotion แบบละเอียด


          สำหรับนักพัฒนามือใหม่ที่พัฒนาแอพฯ ขึ้นมาสักตัวเเล้วอยากทดสอบว่า แอพที่เราได้พัฒนาขึ้นนั้นมีการแสดงผลในหน้าจอที่แตกต่างกันยังไงบ้าง ซึ่งต้องใช้เครื่องใครการทดสอบค่อนข้างเยอะมากๆ 
ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยทีนักพัฒนาคนหนึ่งจะมีเครื่องทุกรุ่นมาใช้ในการทดสอบ  แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีทางที่เราจะไม่สามารถทดสอบได้ ในบทความนี้ขอแนะนำเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบแอพของเราที่ชื่อว่า Genymotion ซึ่งสามารถแก้ปัญหาในเรื่องนี้ได้ดีเลยทีเดียว  สามารถเข้าไปดาวโหลดได้ที่ https://www.genymotion.com/ 



เริ่มแรกเราจำเป็นต้องเป็นสมาชิกของทาง Genymotion ก่อน โดยเข้าไปที่เมนู Sign in



คลิกที่ Create an account เพื่อทำการสมัครสมาชิก หรือถ้าสมัครสมาชิคแล้วก็ทำการล็อกอินให้เรียบร้อย

จากนั้นเราจะทำการดาวโหลดเราต้องไปที่เมนู resources


เลือกที่เมนู Fun Zone



คลิกที่ปุ่ม Dowload Genymotion Personal Edition


จะมีสองแบบให้เราเลือกโหลด ตัวแรกจะมาพร้อมกับ VirtualBox ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าแบบที่สอง ถ้าผู้ใช้งานมีได้ติดตั้ง VirtualBox ไว้ในเครื่องเเล้วก็สามารถเลือกโหลดแบบที่สองซึ่งจะได้เฉพาะ Genymotion เท่านั้น


รอ......................



หลังจากโหลดเสร็จเสร็จแล้วจะได้ไฟล์ นามสกุล .exe (สำหรับ windown)

เริ่มการติดตั้งโดยคลิกที่ไอคอนของ Genymotion จากนั้นกด ok


ติ๊กเครื่องหมายถูก ถ้าต้องการเพิ่ม shortcut ไปที่หน้า desktop แต่ถ้าไม่ต้องการก็สามารถยกเลิกได้



คลิกที่ install เพื่อทำการติดตั้ง



รอ.... จนกว่าจะเสร็จ


กดที่ปุ่ม finish



หลังจากที่ติดตั้งเสร็จแล้ว เข้าโปรแกรมเพื่อทำการโหลดตัวจำลองต่างๆ



กดที่เครื่องหมาย + หรือ Add เพื่อทำการเพิ่มตัวจำลอง device ของเรา


จากนั้นทำการล็อกอินก่อนจึงสามารถโหลดได้ โดยกดที่ปุ่ม  Sign in


กรอกข้อมูล username และ password ให้เรียบร้อย


เลือกอุปกรณ์ที่เราต้องการ และกดปุ่ม next



โปรแกรมจะแสดงรายละเอียดของอุปกรณ์ที่เราได้เลือก กด next เพื่อเริ่มการดาวโหลด



รอ.....


หลังจากโหลดเสร็จเรียบร้อย กดปุ่ม finish


หลังจากโหลดเสร็จเรียบร้อย มาดูที่หน้าจอหลัก จะพบกับตัวที่เราได้ทำการติดตั้งไปเมื่อสักครู่


ต่อไปเราจะทำการเรียกตัวที่เราได้ดาวโหลดไว้มาใช้งานกัน โดยให้เลือกที่อุปกรณ์ที่เราต้องการจะรัน จากนั้นกดที่ปุ่ม start




เราได้ตัวจำลองอุปกรณ์มือถือมาไว้ทดสอบแอพฯของเราเรียบร้อย



Share:

จัดการช่องว่างระหว่างปุ่ม Home กับ Title กรณี Custom title ของ Toolbar





          สวัสดีครับ นักพัฒนาหลายๆ ที่ทำการ custom title ของ toolbar แล้วอาจเคยเจอปัญหาการเว้นช่องว่างระหว่าง ปุ่ม Home กับ Title ในบทความนี้เจ้าของบล็อกมีวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวมาแชร์ต่อกันครับ


          เนื่องจากเจ้าของบล็อกต้องการ Custom Font Title ของ Toolbar จึงทำการสร้าง TextView ขึ้นมาหนึ่งตัว ให้เป็นลูกของ Toolbar ในโคด Java เจ้าของบล็อกจะไม่ขอพูดถึงนะครับ ถือว่ารู้กันหมดแล้ว

จากนั้นหลังจากรันจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ซึ่งสังเกตุตรงปลายลูกศร จะพบว่าช่องว่างค่อนข้างกว้าง 
และผู้พัฒนาบางท่านอาจไม่ค่อยชอบกันเท่าไหร่ 



วิธีแก้ปัญหา ให้ผู้พัฒนาทำการเพิ่มคำสั่ง app:contentInsetStartWithNavigation="0dp" กำหนดค่าให้มีค่าเป็น 0dp ให้เรียบร้อย


จากนั้นหลังจากที่รัน เราจะได้ผลลัพธ์แบบนี้



Share:

Recent Posts

Popular Posts

About Me

About Me