นักผจญโค้ด (CODE HUNTER)

Implement Android Notification Listener using NotificationListenerService(ดักจับและตรวจสอบ notification ด้วย NotificationListenerService)



     ในการณีที่เราอยากตรวจสอบ Notifiction ว่าเป็นของแอพฯ ไหน เราสามารถทำได้โดยการสืบทอดคลาส NotificationListenerService

     เริ่มต้นด้วยการสร้าง Class ขึ้นมาใหม่ชื่อว่า MyNotificationListener และทำการสืบทอด NotificationListenerService และทำการ Override method สองตัว ได้แก่

- onNotificationPosted เมธอดถูกเรียกเมื่อมี notification เข้ามา เราสามารถตรวจสอบค่าได้ที่นี่
- onNotificationRemoved เมธอดถูกเรียกเมื่อ notification ถูกเคลียร์


     ทำการเพิ่มค่าเหล่านี้ที่ไฟล์ Manifest.xml

     เราต้องทำการ allow permission ตัว Notification access โดยเข้าไปที่ Settings->Security-Notification access

 
      

หรือจะเช็คด้วยโคด


อ่านเพิ่มเติมได้ที่  NotificationListenerService
Share:

Developing Your First Spring Boot Application with Intellij IDEA (สร้าง Project Spring Boot แรก ด้วย Intellij IDEA)

          ในบทความก่อนหน้า Developing Your First Spring Boot Application (สร้าง Project Spring Boot แรก ด้วย Eclipse)   เราได้ทำความรู้จักกับการสร้างโปรเจคด้วย Eclipse กันไปแล้ว ในบทความนี้เรามาทำความรู้จักกับวิธีการสร้างโปรเจคของ Spring Boot ด้วย tools ที่ชื่อว่า IntelliJ IDEA  กันบ้าง

เลือก Create New Project


เลือกไปที่เมนู Spring Initializr เลือก Version ของ Java ได้ตามต้องการ


สามารถกำหนดค่าต่างๆ ได้แก่
  • เลือกรูปแบบการสร้างโปรเจค มีด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่ Maven Project และ Gradle Project
  • ภาษาที่ใช้ในการพัฒนา มีด้วยกัน 3 ภาษา ได้แก่ Java ,Kotlin และ  Grovy
  • เวอร์ชั่น ในบทความนี้เลือกเป็น 2.0.4
  • ตั้งค่า Group
  • ตั้งค่า Artifact
  • เลือก Version
  • ใส่ Description
  • Package
  • เลือก version ของภาษา java 
  • เลือก packaging ได้ว่าเราจะให้เป็น .WAR, หรือ .JAR

เลือก dependency เพิ่มเติมสำหรับการพัฒนา

ตั้งชื่อของ Project  และเลือก Location ที่จะใช้เก็บโปรเจค

ได้โปรเจคพร้อมสำหรับการพัฒนาของเราแล้ว

Share:

Developing Your First Spring Boot Application with Eclipse (สร้าง Project Spring Boot แรก ด้วย Eclipse)

          การสร้างโปรเจค Spring boot เราสามารถสร้างได้ผ่านเว็ป SPRING INITIALIZR  หรือผ่าน tool ที่ใช้ในการพัฒนาก็ได้ ซึ่งในบทความนี้เราจะมาแสดงวิธีการสร้างทั้งสองแบบ โดย tool ที่ผู้เขียนเลือกใช้คือ Eclipse (Photon)

          การสร้างแบบแรกจะเป็นการสร้างผ่านเว็ป SPRING INITIALIZR ซึ่งมีสิ่งที่เราสามารถกำหนดค่าต่างๆ ได้ คือ
  • เลือกรูปแบบการสร้างโปรเจค มีด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่ Maven Project และ Gradle Project
  • ภาษาที่ใช้ในการพัฒนา มีด้วยกัน 3 ภาษา ได้แก่ Java ,Kotlin และ  Grovy
  • เวอร์ชั่น ในบทความนี้เลือกเป็น 2.0.4
  • ตั้งค่า Group
  • ตั้งค่า Artifact
  • เลือก Dependency ที่จะใช้ในการพัฒนา
          เมื่อเลือกสิ่งที่ต้องการเสร็จแล้ว สามารถกดที่ปุ่ม Generate Profject หรือจะกดปุ่ม Alt + Enter เราจะได้ไฟล์มาในรูปแบบ Zip ไฟล์ ซึ่งสามาถนำไปเปิดใน tool ที่เราพัฒนาได้เลย


ตัวอย่างไฟล์ที่ได้จากการ Generate บนเว็ป

           การสร้างโปรเจคแบบที่สองคือ สร้างผ่าน tool ในที่นี้คือ Eclipse ซึ่งเราได้ติดตั้ง plugin เพิ่มจากในบทควาที่แล้ว How to install Spring Boot on Eclipse (ติดตั้งเครื่อง Spring boots บน Eclipse)  โดยเลือก File -> New -> Other


เลือกเป็น Spring Boot -> Spring Starter Project


กำหนดค่าต่างๆ ซึ่งจะคล้ายๆ กับที่เราได้กำหนดไว้ในวิธีด้านบน
  • เลือกรูปแบบการสร้างโปรเจค มีด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่ Maven Project และ Gradle Project
  • ภาษาที่ใช้ในการพัฒนา มีด้วยกัน 3 ภาษา ได้แก่ Java ,Kotlin และ  Grovy
  • เวอร์ชั่น ในบทความนี้เลือกเป็น 2.0.4
  • ตั้งค่า Group
  • ตั้งค่า Artifact
  • เลือก Version
  • ใส่ Description
  • Package
    ความพิเศษสำหรับการสร้างโปรเจคผ่าน tool คือ 
  • เราสามารถเลือก version ของภาษา java ได้
  • สามารถเลือก packaging ได้ว่าเราจะให้เป็น .WAR, หรือ .JAR
หมายเหตุ  สำหรับการสร้างผ่านเว็ป ก็สามารถกำหนดได้เช่นกัน โดยไปกำหนดที่ไฟล์ .pom



เลือก Dependency ที่จะใช้ในการพัฒนา


ได้โปรเจคที่พร้อมสำหรับการพัฒนาของเราแล้ว

Share:

How to install Spring Boot on Eclipse (ติดตั้งเครื่อง Spring boots บน Eclipse)

          Spring Boot ออกเวอร์ชั่น 1.0 ในปี 2014  ปัจจุบันปี 2018 เป็นเวอร์ชั่น 2.0.4 จากที่ผู้เขียนลองเล่นดูแล้วรู้สึกชอบมาก โดยเฉพาะส่วนที่เราสามารถกำหนด Config ต่างๆ ได้ผ่าน Anotation ซึ่งเป็นอะไรที่สะดวกมาก อีกทั้งเราสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายดาย มี comunity ใหญ่ ตัวอย่างตามเว็ปไซด์ต่างๆ ก็มีมากมาย 
          สำหรับตัวช่วยในการการพัฒนาเว็ปแอพฯ ด้วย Spring Boot ใน Eclipse เรียกว่าคือ Spring tools ซึ่งเราสามารถติดตั้ง plugin ตัวนี้เพิ่มได้โดยไปที่เมนู Help -> Eclipse Marketplace

          เครื่องมือที่ใช้
               - Eclipse (Photon)
               - Spring tools 3.9.5



ค้นหา Spring tools  ทำการติดตั้งโดยกดที่ปุ่ม install


ตัวระบบจะแจ้งว่าจะติดตั้งอะไรบ้าง สามารถเลือกได้ว่าจะติดตั้งตัวไหน  Default  คือเลือกทั้งหมด จากนั้นกดปุ่ม Confirm

เลือก I accept the term of license agreements จากนั้นกดปุ่ม Next

เลือก install anyway

คลิกที่ปุ่ม Select All และต่อด้วยปุ่ม Accept Selected

ตัว Eclipse จะทำการติดตั้ง หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วให้ทำการ restart eclipse หนึ่งครั้ง



Share:

How to disable the timeline on Windows 10(เคลียร์ประวัติการใช้งานใน Window 10)

          ประวัติการใช้งานถูกเพิ่มเข้ามาใน Window 10 April 2018  ซึ่งสามารถปิดไม่ให้ตัว Window จำวัติการใช้งานได้เพียงไม่กี่ขั้นตอน

เลือก Start -> Settings


ในหน้า Windows Setting เลือกที่เมูน Privacy


คลิกที่แท็ป Activity History
          - uncheck เมนู Let Windows collect my activites....
          - กดปุ่ม clear history
          - เลือก Off เมนู Show activities from account




เลือกปุ่ม OK เพื่อเริ่ม clear hisroy





Share:

How to install Maven on Windows (วิธีการติดตั้ง Maven บนวินโดว)

เครื่องมีที่ใช้ในตัวอย่าง ได้แก่
  1. JDK 10
  2. Maven 3.5.4
  3. Windows 10

1. ทำการดาวโหลด Zip ไฟล์ จาก http://maven.apache.org/download.cgi



2. เลือกดาวโหลดไฟล์ apache-maven-3.5.4-bin.zip


3. ทำการแตกไฟล์ zip และ copy พาธไฟล์ ในที่นี้คือ  "D:\dev\apache-maven-3.5"


4. เปิด Environment Variables


เลือก  New สร้าง System Variable



ช่อง Variable name ใส่เป็น MAVEN_HOME  
ช่อง Variable Value ใส่ path ที่อยู่ของ maven เช่น "D:\dev\apache-maven-3.5.4"


เปิด Command Prompt พิมพ์คำสั่ง "mvn -version" เพื่อตรวจสอบเวอร์ชั่นที่พึ่งติดตั้ง



Share:

how to remove left(start) margin from actionbar's custom layout (ลบช่องว่างระหว่าง title และ ปุ่ม home ของ actionbar)


          Toolbar กำหนดค่า default ของ contentInsetStart ไว้ที่ 16dp ทำให้เวลาเราทำ custom toolbar จะมีช่องว่างระหว่าง navigation icon และ title
           ใน Material Design spec มี attribute ตัวหนึ่งที่ชื่อว่า contentInsetStartWithNavigation  และกำหนดค่าเริ่มต้นไว้ที่ 16dp เราสามารถกำหนดค่าของ contentInsetStartWithNavigation  ให้เป็น 0dp ได้ในกรณีที่เรามีกำหนด navigation icon ไว้



ก่อนกำหนดค่าให้ใหม่กับ contentInsetStartWithNavigation

หลังกำหนดค่าให้ใหม่กับ contentInsetStartWithNavigation  เป็น 0dp
Share:

how to chage icon home button

         

เราสามารถเปลี่ยน Icon ของปุ่ม Button Home ได้ง่ายๆ
โดยการกำหนดรูปที่เราต้องการให้แสดงผ่านคำสั่ง setHomeAsUpIndicator โดยเราสามารถส่ง param ได้ 2 แบบคือ 
          แบบแรก คือ การส่ง Drawable 
          แบบที่สอง คือ การส่ง Id ของ drawable

ตัวอย่างการเรียกใช้แบบแรก



ตัวอย่างการเรียกใช้แบบที่สอง



Share:

มาเปลี่ยน font ของ TextView ในแอพฯ กันเถอะ

       

 ในบทความนี้เราจะมาทำการเปลี่ยนฟ้อนของ TextView ในแอพฯ ให้เป็นฟ้อนที่เราอยากได้กัน ซึ่งในตัวอย่างเราจะทำการเปลี่ยนฟ้อนของ "Hello World!"

คลิกขวาที่โฟลเดอร์ res เลือก New จากนั้นเลือก Android resource directory

ในชื่อง Resource Type เลือกเป็น font

จากนั้นระบบจะทำการสร้างโฟลเดอร์ font ให้เรา ให้เรานำ font ที่เตรียมไว้แล้วมาไว้ที่โฟลเดอร์ font ที่พึ่งสร้าง

จากนั้นไปที่โฟลเดอร์ values->style ไฟล์ style.xml ให้เพิ่ม
<item name="android:fontFamily">@font/dosis_regular</item>

ลองรันแอพฯขึ้นมาใหม่ คำว่า Hello World! เปลี่ยนเป็น font ที่เราอยากได้เรียบร้อย

ดูโคดตัวอย่างได้ที่ https://github.com/twbkg/AndroidFonts.git
Share:

วิธีหา SHA1 บน Android Studio

          ในบทความนี้เราจะหา SHA1 โดยที่ไม่ต้องสั่งรันผ่าน Command ดูที่โปรเจคจากนั้นมองTab Gradle จะอยู่ฝั่งขวามือของหน้าจอ จากนั้นเข้าไปที่ Tasks->android->signingReport

จากนั้นคลิ๊กขวาเลือก Run 'ชื่อโปรเจค' หรือจะกดปุ่ม Ctrl+Shift+F10

จากนั้นมาที่แถบด้านล่าง เลือก แถบ Messages 

คลิ๊กที่ไอคอน Show Console Output



Share:

Recent Posts

Popular Posts

About Me

About Me